I N T R O T R I P
ชุมชนริมทาง-อาศรมศิลป์
นักศึกษาสน.และสถ.ออกทริปร่วมกัน วันนี้อ.จิ๋วพาไปดูวิถีชีวิต ที่อยู่อาศัยของชุมชนเล็กริมทาง (ไม่รู้ว่าที่ไหน เพราะหลับตลอดทางเลยค่ะ ประมาณว่าแถวสุขสวัสดิ์อะไรประมาณนั้นค่ะ)
ชาวบ้านที่นี่ประกอบอาชีพทำนา และแบ่งพื้นที่เล็กๆในผืนนามาปลูกสร้างที่อยู่อาศัย วิธีการสร้างมาสลับซับซ้อนสามารถสร้างเองได้ วัสดุส่วนใหญ่ไม่มีการปิดผิวแต่อย่างใด การระบายอากาศเป็นวิธีธรรมชาติ บ้านเพิ่มเป็นเรือนหมู่หลายหลังมากขึ้นตามจำนวนสมาชิกที่มีคู่ครอง แต่ก็ยังอยู่ในละแวกเดียวกัน มีการเอื้อเฟื้อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
อาศรมศิลป์-โรงเรียนรุ่งอรุณ
โรงเรียนและสถาบันต้นแบบของวิถีชีวิตแบบพึ่งตนเอง เราเข้าเยี่ยมชมเรือนไทยหมู่ที่สร้างตามแบบฉบับดังเดิม เป็นเรือนสองชั้น เปิดคอร์ทตรงกลาง ปลูกต้นไม่ใหญ่เพื่อให้ร่มเงา ใช้เป็นสำนักงานของโรงเรียนรุ่งอรุณ ทั้งธุรการ ทะเบียน ห้องประชุม และห้องผู้บริหาร จากนั้นก็เดินชมบรรยากาศโดยรอบ ผ่านทางเดินไม่ยาวล้อมรอบบ่อน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ภูมิทัศน์ส่วนใหญ่มีการปลุกต้นไม้พุ่ม ยืนต้นสลับกันแบบธรรมชาติ เพื่อป็นแหล่งเรียนรูด้วยตนเองสำหรับเด็ก
อาศรมศิลป์ ประกอบไปด้วยบริษัทผู้ออกแบบด้านสถาปัตยกรรมที่มีแนวความคิดในการออกแบบชัดเจนคือ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และส่วนหนึ่งเป็นสถาบันสอนด้านสถาปัตยกรรมในระดับมหาบัณฑิต รูปแบบอาคารเป็นเรือนไม้สามชั้น มีการเล่นระดับ ส่วนโถงทางเข้า กับตัวอาคาร ภายในสำนักงานมีการจัดสรรพื้นที่แบบ space within space เป็นห้องเพดานสองภายในมีการจัดพื้นที่ทำงานเป็นสามระดับ เปิดโล่งตรงกลาง
INTRO TRIP AGAIN สระบุรี
บ้านเขาแก้ว จ.สระบุรี ประกอบไปด้วยบ้านทรงไทยเก่า แต่ละหลังมีอายุมากกว่า 80 ปี เก็บรักษาโดย อาจารย์ทรงชัย วรรณกุล โดยได้เริ่มสะสมบ้านทรงไทยแบบดั้งเดิมมากว่า 30 ปี แล้วนำมาปลูกไว้ในพื้นที่ของตนเองบริเวณริมแม่น้ำป่าสัก
เมื่อเดินข้ามคูน้ำที่ล้อมรอบบ้าน ลอดผ่านซุ้มประตู ลานดินขนาดใหญ่ที่ร่มรื่นไปด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่สร้างความรู้สึกร่มรื่น และสร้างความรู้สึกต้อนรับเป็นกันเองให้กับผู้มาเยือน ตัวบ้านเป็นบ้านโบราณที่ได้มาจากที่ต่างๆเป็นลักษณะชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าลานดินสอดตัวเข้าไปใต้ถุนบ้าน เป็นการเชื่อมต่อกันของ ใต้ถุนกับลานดินได้เป็นอย่างดี
เมื่อเก็บภาพบรรยากาศของบ้านเขาแก้วเสร็จก็เป็นเวาลอาหารกลางวันพอดี เราข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งของถนน ซึ่งเป็นหอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยยวน สาเหตุที่อาจารย์ได้คิดริเริ่มก่อตั้งหอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวนขึ้น ก็เนื่องมาจากแนวความคิด 3 ส. คือ ส. แรก - สืบสาวเรื่องราวความเป็นมา ส. ที่สอง - สานต่อวัฒนธรรมให้คงไว้ และ ส. ที่สาม - เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชนไทยวนด้วยกัน อ.จริงได้จัดทำหอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยยวน ขึ้นมาและมีการสอนศิลปะ ฟ้อนรำให้เด็กให้แก่เด็กๆในหยุดอีกด้วย ที่นี่เรากินก๋วยเตี๋ยว ขนมหวาน พร้อมไปกับดูการฟ้อนรำของเด็ก ในบรรยากาศที่ร่มรื่น การจัดเวที กับพื้นที่ริมน้ำที่แยบยล โดยยกพื้นที่เวทีสูงเกาะตัวอยู่กันsloe ที่ใช้เป็นตลิ่งไปในตัว การแรกตัวของต้นไม้กับลานพื้นไม้ และเรือนโบราณได้อย่างลงตัว
สองสัปดาห์ผ่านไป
“วั น เ ส า ร์ เ จ็ ด โ ม ง ค รึ่ ง ที่ เ ดิ ม น ะ เ พื่ อ น ๆ ”
คำบอกเล่าต่อกันของเหล่า สถ.๕ หลังจากที่การเรียนคาบสุดท้ายของสัปดาห์สิ้นสุดลง การไปทริปครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ตัวฉันเองเคยเฝ้ารอคอย เหมือนกับว่าเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่บอกว่า ฉันเป็นนักศึกษาสถาปัตย์ ลาดกระบังปีสุดท้าย อย่างเต็มตัวแล้ว
2 4 / 0 7 / 1 0 7:50 am. “ ล่ ก ”
ร ถ ยั ง ไ ม่ อ อ ก แ ต่ ค น เ ริ่ ม เ ต็ ม ร ถ แ ล้ ว ทันทีที่ฉันขึ้นเพื่อนๆหลายคนกำลังจะหลับ และแล้วล้อก็เริ่มหมุน เราออกจากคณะ เพื่อที่จะมุ่งหน้าไปยังจุดหมายแรกที่ไม่มีใครรู้ “เรากำลังจะไปไหนวะ” บทสนทนาระหว่างการเดินทางเริ่มต้นขึ้นและก็เงียบลงในที่สุด ทุกคนอยู่ในภวังค์ หลับเอาแรงสิคะ
ระหว่างทางฉันหลับๆตื่นๆ แต่วันนี้อากาศดีค่ะ ไม่มีแดดเลย (เหมือนฝนจะตก) กำลังสบาย รู้สึกเหมือนกำลังจะได้ไปเที่ยวกับเพื่อนทั้งห้อง คงสนุกพอตัวเลยล่ะ ฉันเริ่มมีความสุขอยู่กะตัวเอง
ส า ม ชั่ ว โ ม ง ผ่ า น ไ ป “อ้ า ว ว ว ............ล ง”
ทุ่งนาเขียวเขียว จ.อุทัยธานี
บ้านเรือนแพริมแม่น้ำสะแกกรัง
ที่นี่เป็นตัวอย่างของชุมชนริมน้ำที่หลงเหลืออยู่ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันชาวบ้านที่นี่มีชีวิตพึ่งพิงแม่น้ำสายหลักของจังหวัด อย่างแม่น้ำสะแกกรังเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ ทั้งในการดำรงชีวิตและเป็นแหล่งที่ใช้ทำมาหากิน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการดำรงชีวตแบบพึ่งพึงธรรมชาติ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้บรรพบุรุษหวงแหนและดูแลรักษาธรรมชาติ
2 5 / 0 7 / 1 0 8:30 am “ เ มื อ ง ร ถ ม้ า ”
ที่ นี่ เ ร า ฝ า ก ท้ อ ง ต อ น เ ช้ า ไ ว้ กั บ ร้ า น ข้ า ว ซ อ ย ข้ า ง โ ร ง แ ร ม ค่ ะ จากนั้นจึงเริ่มออกเดินทางไปยังจุดหมายแรกของวันนี้
วัดเสลารัตนปัพพะตาราม
ชาวบ้านเรียกว่า ” วัดไหล่หิน ” หรือวัดไหล่หิน หลวงแก้วช้างยืน หรืออีกชื่อที่ชาวบ้านรุ่นก่อนๆรู้จักกันในนาม วัดป่าหิน หรือวัดม่อนหินแก้ว เมื่อเดินเข้าซุ้มประตูทางเข้าวัด จะพบกับลานทรายขนาดใหญ่ที่ช่วยสร้างให้บรรยากาศภายในวัดดูร่มรื่รผิดหูผิดตาจากวัดในปัจจุบัน ด้วยลานแบบดั้งเดิมคือจะเป็นลานทรายต่อด้วยทางเดินยาวที่มีตระไคร่สีเขียวชะอุ่มขึ้นอยู่ประปรายทอดตัวสู่วิหาร พื้นที่บริเวณลานทรายมีการปลูกต้นศรีมหาโพธิ์อยู่บริเวณด้านขวาของลาน นอกจากจะช่วยให้ร่มเงาแล้ว ผู้ออกแบบชาวล้านนายังใช้ต้นโพธิ์ต้นนี้เป็นตัวกำหนด ขอบเขตของspace ได้อย่างลงตัว เมื่อเดินผ่านลานทรายเข้าไปด้านในจะเจอกำแพงแก้วและซุ้มประตูเพื่อเข้าวิหาร สัดส่วนของทั้งกำแพงแก้ว วิหารและซุ้มประตูและการจัดสรรที่ว่างที่เป็นลานทรายภายในกำแพงแก้ว เป็นไปอย่างกระชับ
“ ง า ม พ ร ะ ธ า ตุ ลื อไ ก ล ”
จุดหมายต่อไปของวันนี้คงเป็นอีกที่หนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องแวะมาสักการะพระธาตุที่สำคัญของจังหวัดลำปางเพื่อเสริมสิริมงคล คงหนีไม่พ้น พระธาตุลำปางหลวง ตัววัดตั้งอยู่บนเนินสูง มีการจัดวางผัง และส่วนประกอบของวัดที่สมบูรณ์แบบ(ที่ก่อสร้างในสมัยก่อนไม่นับรวมที่ต่อเติม) ในบริเวณพุทธาวาสประกอบด้วย องค์พระธาตุลำปางหลวงเป็นประธาน มีบันไดมกรคาบนาคนำขึ้นไปสู่ซุ้มประตูโขง วิหารหลวง วิหารบริวาร หอพระพุทธบาท วิหารพระพุทธ และ อุโบสถ ทั้งหมดนี้จะแวดล้อมด้วยแนวกำแพงแก้วทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงแก้วด้านมีประตูที่จะนำไปสู่เขตสังฆาวาส ซึ่งประกอบด้วยอาคาร หอพระไตรปิฎก กุฏิประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า อาคารพิพิธภัณฑ์และกุฏิสงฆ์
แม้ว่าที่นี่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง แต่การจัดผังบริเวณใหม่ การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกไม่ได้ทำลายความงามที่มีอยู่เดิม เนื่องจากมีการแยกส่วนที่เป็นร้านขายของ ลานจอดรถที่เป็นคอนกรีตออกจากบริเวณวัด ช่วยคงความสงบและเอกลักษณ์เดิมของวัด ช่วยสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ คงต้องมอบความดีความชอบให้ผู้ออกแบบ ที่มีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งเก่าๆที่ลดน้อยลงทุกวัน
วัดปงยางคก
อีกวัดหนึ่งที่อาจารย์นำเสนอให้เห็นการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศรอบๆ
เมื่อเข้าสู่บริเวณวัด ผ่านประตูจะพบกับวิหารเดิมและมีวิหารใหม่ขนาบข้างกัน ที่วัดนี้ทำให้เราเห็นถึงความต่างกันอย่างสุดขั้วของวิหารสองหลัง หลังเดิมเป็นวิหารพระแม่เจ้าจามเทวี มุงด้วยดินขอเกล็ด วิหารนี้เป็นวิหารที่มีขนาดเล็ก กระชับ ลักษณะทั่วไปของวิหารไม่เหมือนกับวิหารในสมัยปัจจุบัน โถงของวิหารทำด้วยไม้ เปิดโล่งตลอดไม่มีประตูและหน้าต่าง ตอนสุดท้ายของวิหารมีผนังก่ออิฐฉาบปูนทึบสามด้าน ลักษณะของการก่อสร้างเป็นศิลปะสถาปัตยกรรมแบบลานนา หลังคาสามชั้น เป็นวิหารไม้ที่มีความสวยงามมาก เป็นแบบฉบับของลักษณะสถาปัตยกรรมภาคเหนือ
ส่วนวิหารหลังใหม่นั้นแตกต่างกันทั้งสัดส่วน การประดับกระจกสี และการใช้สีที่ฉูดฉาดตามแบบฉบับวิหารในสมัยใหม่
หลายคนเริ่มร้อนและเหนื่อย และหิวแล้ว แต่ “ ก า ร เ ดิ น ท า ง ข อ ง วั น นี้ ยั ง ไ ม่ สิ้ น สุ ด ”
หมู่บ้านและวิถีชิวิตของชาวบ้านรอเราอยู่ สู้ต่อไป........
2 6 / 0 7 / 1 0 9 : 0 0 a m. “ ข้ า ว เ ห นี ย ว ห มู ห่ อ ใ บ ต อ ง ร้ อ น ๆ ”
วันนี้ทุกคนต้องเตรียมอาหารกลางวันไปกินด้วย ทำให้ต้องตื่นเช้ากว่าเดิมซึ่งสำหรับฉันแล้วมันค่อนข้างจะ “ส ลึ ม ส ลื อ” ค่ะ แต่โชคดีที่เรามีแม่ศรีเรือนอย่างซีอยู่ในกลุ่มค่ะ ถ้าไม่ได้ซี ฉันคงไม่มีข้าวกลางวันกิน ข อ บ คุ ณ ข้ า ว เ ห นี ย ว ห มู เ ค็ ม ข อ ง ซี (ที่ซื้อมาให้) หลังจากที่สมาชิกพร้อม ล้อก็เริ่มหมุนและพาพวกเราไปยังจุดหมายแรกของวันนี้
วัดพระแก้วดอนเต้า
มีมณฑปพม่า เป็นยุคที่งานพม่าแล้วมีอังกฤษมาเกี่ยวข้องอ.จิ๋วชี้ให้เห็นคิวปิดที่แฝงอยู่ในงาน
ภายในโบสถ์ที่เป็นแบบเปิดโล่ง สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการจากต่างชาติ ซึ่งก็คืออังกฤษ
คือการที่มีการนำกระจกสีเข้ามาใช้ตกแต่งภายในอาคาร ให้ความรู้สึกไปอีกแบบ
การตกแต่งที่มากมายทั้งภายนอกและภายในก็สร้างความประทับใจให้ผู้เข้าชมมากทีเดียว
ไปเสี่ยงเซียมซีมาด้วยค่ะ ได้ใบที่ยี่สิบเอ็ด ไม่ค่อยดีอ่านแล้วก็เก็บไว้ที่เดิมดีกว่า ไปเสี่ยงที่ใหม่เผื่อจะดี5555 ที่วัดมีการวางผังที่แปลกไป มีการใช้approachเข้ามาเกี่ยวข้อง การมอง การเดินเข้าถึงตัวอาคาร
วัดสุชาดาราม (อยู่ข้างๆกัน)
วัดนี้ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ค่อนข้างมาก มีการทำทางเดินคอนกรีต ปลูกหญ้าญี่ปุ่นเป็นลานก่อนถึงทางเข้าวิหาร แสดงเห็นเห็นถึงการใช้วัสดุและจัดภูมิทัศน์แบบสมัยใหม่
เมื่อเดินผ่านกำแพงแก้ว ทางเข้าหลักสู่ตัววิหารอยู่ทางด้านข้างของวิหาร เป็นลานยาวไม่กว้างนักขนาบกับตัววิหาร ก่อนผลักสู่ทางเข้าทางด้านหน้า(ทิศตะวันตก)
วัดบ่วงกรมทอง “ ข้ า ว เ ห นี ย ว ห มู เ ย็ น ห ม ด แ ล้ ว ค่ ะ ”
ก่อนเราจะชมวัด เป็นเวลาอาหารกลางวันพอดี ต่างคนต่างเตรียมสะเบียงงัดกันออกมาประชัน แต่ใครจะสู้อาจารย์ผู้สอนวิชา professional practice ท่านเป็น professional จริงๆไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องอาหารการกิน (น่าอร่อยทุดอย่างเลยค่ะ) อิ่มท้องแล้วก็เริ่มชมวัดกันค่ะ
วัดนี้เป็นวัดแบบล้านนาที่ได้นำแนวคิดสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ด้วย (เพิ่งสร้างได้ไม่นาน) โดยกำแพงใช้การเรียงหินเพื่อให้เกิด textureแบบหยาบ ตามแบบสไตล์ F.L.wrigth มีการใช้วัสดุท้องถิ่น หลังคาไม้ รอบวิหารออกแบบให้เป็นลานดินตามแบบฉบับดั้งเดิม
เมื่อเดินไปอีกฝั่งของโบถส์ จะพบกับเรือนไทยล้านนาแบบประยุกต์ ที่ผู้ออกแบบตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อเป็นกุฏิสำหรับพระสงฆ์ แต่เนื่องจากตั้งอยู่ในทิศที่ไม่เป็นมงคลจึงปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์การเรียนรู้ของเด็กในชุมชนในวันเสาร์ อาทิตย์
ด้านหลังวัดมีหมู่บ้านเล็กๆ ที่ชาวบ้านมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบพึ่งตนเอง มีการเลี้ยงหมู ปลูกผักและทำนา
2 7 / 0 7 / 1 0 “ เ ว ล า เ ดิ ม - อ า ห า ร เ ช้ า ร้ า น เ ดิ ม ”
วั น สุ ด ท้ า ย ที่ ลำ ป า ง วัดแรกที่เราไปวันนี้ชื่อแปลกดีค่ะ
วัดปงสนุก
วัดปงสนุก แบ่งออกเป็นวัดปงสนุกเหนือและวัดปงสนุกใต้ สาเหตุที่แยกเนื่องมาจากพระสงฆ์ สามเณรมีจำนวนมากขึ้น ทำให้วัดคับแคบ จึงสร้างวัดเพิ่มขึ้น ด้านหน้าก่อนเข้าสู่ตัววัดมีการทำซุ้มประตูแบบล้านนา
เมื่อเดินลอดผ่านซุ้มประตู เป็นบันไดทางขึ้นสู่ตัววิหารพระเจ้าพันองค์
ตัววิหารสร้างด้วยไม้ หลังคาเป็นลักษณะมณฑปหลังคาซ้อนสามชั้น บนสันหลังคาเหนือมุขทั้งสี่สร้างปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสีฉลุ ลาย สื่อความหมายถึงทวีปทั้งสี่รอบเขาพระสุเมรุ ลักษณะตัวอาคารผสมผสานระหว่างศิลปกรรมล้านนา พม่าและจีน หลงเหลือเพียงอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย ห้องกลางวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสี่องค์หันพระพักตร์ออกสี่ทิศประทับนั่ง ใต้โพธิ์พฤกษ์ทำด้วยตะกั่ว วิหารวัดนี้เป็นวิหารที่มีทั้งความวิจิตรและพิสดารกว่าวัดอื่นที่ผ่านมา
วัดศรีรองเมือง
เป็นวัดที่มีลักษณะแบบศิลปะพม่า เนื่องจาก เป็นวัดที่ชาวพม่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบันมีอายุราว 103 ปี สร้างโดยช่างฝีมือจากพม่าล้วนๆ ซึ่งบางส่วนของจั่วหลังคาได้ถอดแบบมาจากปราสาทเมืองมัณฑเลย์ ประเทศพม่า
ตัววิหารสร้างด้วยไม้สัก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นซุ้มเรือนยอด เป็นกลุ่มของชั้นหลังคา สวยงามตามแบบศิลปะพม่า มีลายฉลุบนสังกะสี ใช้ประดับบนจั่ว และเชิงชายหลังคา เพิ่มความอ่อนช้อย และสง่างามให้วิหาร เสาไม้ตกแต่งด้วยศิลปะการปั้นรักเป็นลวดลายเครือดอกไม้ ประดับด้วยกระจกสี เฉพาะเสาหน้าพระประธาน จะปั้นรักเป็นรูปเทพารักษ์ คน ยักษ์ วานรและสัตว์ป่าให้เหมือนในป่าหินมพานต์ วัดนี้โดดเด่นเรื่อง interior มากค่ะ เข้าไปแล้วรู้สึก retro สามารถนำการใช้สีไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบซึ่งกำลังอยู่ในกระแสขณะนี้ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ
มุ่ ง ห น้ า “สุ โ ข ทั ย” ระหว่างการเดินทางก็ไม่พลาดที่จะแวะชมหมู่บ้านระหว่างทาง
อ้าววววววววว................ลงงง
2 8 / 0 7 / 1 0 “ส วั ส ดี ส วั ส ดิ พ ง ษ์”
ตื่นเช้ามาพร้อมกับกิจวัตรเดิม คือเตรียมอาหารกลางวัน หนีไม่พ้นข้าวเหนียวหมูค่ะ ที่นี่เมืองเล็กๆ สงบ เรียบง่าย (เริ่มคิดถึงแสงสี) มี นวลเบเกอรี่ อร่อยมากค่ะ ไม่พูดมาก ออกเดินทางกันเลยดีกว่าค่ะ
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
บนเนื้อที่เท่าไรไม่รู้ ใหญ่พอที่จะคลอบคลุมสรีดภงสดุ์ (เขื่อนที่เก็บน้ำสมัยโบราณ) และวัดอีกนับสิบ ที่นี่สวยมากค่ะ มองไปทางไหนก็เขียวชอุ่มชุ่มชื่น ชื้น ตามก้อนศิลาแรงมีตะไคร่ให้อารมณ์บอกไม่ถูก แต่อัศจรรย์จริงๆค่ะ ซากสถาปัตยกรรมที่แม้จะถูกเผาทำลายไปจนเกือบหมด เหลืองเพียงชิ้นส่วนที่เป็นศิลาแรง ทำให้ปรากฏเห็นเป็นระนาบของพื้นและผนังที่ชัดเจนมากขึ้น เส้นตั้งที่เกิดจากโครงสร้างเสา สัดส่วนที่สมดุล งดงาม โอบล้อมที่ว่างภายในอีกทั้งยังสอดรับกับที่ว่างและบริบทจากภายนอก การจัดภูมิทัศน์ เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดขอบเขต ทางเดิน การเข้าถึง
“ ฉั น คิ ด ว่ า มั น . . . . . . สุ ด ย อ ด ม า ก เ ล ย ค่ ะ ”
|
สรีดภงสดุ์ |
2 9 / 0 7 / 1 0 9 : 0 0 am เ มื อ ง ลั บ แ ล
เมืองที่เด็กหลายคนรวมทั้งตัวฉันเองมีความเชื่อว่าเข้าไปแล้วจะหายไปอย่างลึกลับ เมื่อมาถึงความรู้สึกนั้นก็แอบเกิดขึ้นอยู่บ้างค่ะ เพราะเมืองนี้ค่อนข้างสงบ เงียบ ถนนที่เล็กและเป็นซอกซอยบรรยากาศที่มีต้นไม้คลึ้มเย็นเยือกยิ่งทำให้ขนลุก หมู่บ้านที่นี่ใช้ถนนดินเล็กๆในการเข้าถึง แต่ละบ้านยังคงไว้ซึ่งความเป็นชนบท ส่วนมากเป็นบ้านเก่าแก่ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ
วัดดอนสัก แห่งเมืองลับแล ลับแลจริงๆค่ะ
วัดดอนสัก เรารับประทานอาหารกลางวันและร่วมกันทำบุญถวายหลอดไฟพรรษาที่นี่ค่ะ บรรยากาศในวัดค่อนข้างมืดครึ้ม ยุงและแมลงเยอะมากค่ะ แต่ถ้าไปอยู่ในกรุงเทพ ที่นี่เป็นร้านอาหารที่มีบรรยากาศร่มรื่นและเหมาะกับการนั่งกินไปคุยไปได้อย่างดีเลยค่ะ
ที่น่าสนใจคือวิหารที่ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยามีบานประตูแกะสลักงดงามเป็นลวดลายกนกก้านขด ไขว้ ประกอบด้วยรูป หงส์ รูปเทพพนม และยักษ์ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาลดหลั่นลงเป็น ๓ ชั้น ด้านนอกส่วนหน้าบันประดับด้วยไม้แกะสลักลวดลายสวยงาม หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่าข้างๆวิหารเคยเป็นหลุมหลบภัยสมัยสงครามโลกด้วย
ก่อนออกจากเมืองลับแล ชมหมู่บ้านอีกที
3 0 / 0 7 / 1 0 ที่ เ ก่ า เ ว ล า เ ดิ ม
อุทยานประวัตฺศาสตร์ศรีสัชนาลัย “ ที่ เ ก่ า เ ว ล า ใ ห ม่ ”
เมื่อเข้าสู่เขตเมืองเก่า ฉันรู้สึกได้ถึงการมีเรื่องราว ทุกอย่างที่นี่เหมือนถูกหยุดเวลาไว้ตั้งแต่หลังจากการเข้าโจมตีของพม่าสงบลง พื้นที่รกล้างเป็นป่าค่อนข้างเยอะ อากาศค่อยชื้นและเย็นเยือกขึ้นตามลำดับเมือเข้าสู่ตัวอุทยาน แสงที่ส่องลอดผ่านม่านไม้ ช่วยทำให้เรารู้สึกอุ่นขึ้น ท้องฟ้าสีฟ้าสดใส เหมือนอะไรก็ดูเย็นตาไปหมด ฉันประทับใจที่นี่มากค่ะ จนอยากบอกอาจารย์ว่าพรุ่งนี้มาที่นี่อีกได้ไหมคะ ฉันพยายามเก็บเกี่ยวและซึมซับบรรยากาศที่นี่ให้ได้มากที่สุด จนเกือบตามไม่ทันกลุ่มเพื่อน ทุกมุม ทุกจุดสร้างความประทับใจให้ฉันได้มากอย่างบอกไม่ถูก
ร ะ น า บ ผ นั ง แ ล ะ พื้ น
เ ส้ น ตั้ ง ข อ ง เ ส า โ ค ร ง ส ร้ า ง
พื้ น แ ล ะ ผ นั ง แ ต่ ง แ ต้ ม ม อ ส แ ล ะ ต ะ ไ ค ร่
กิ่ ง ก้ า น ข อ ง ต้ น ไ ม่ ใ ห ญ่
ที่ ว่ า ง ที่ เ ค ย ไ ม่ ว่ า ง
31/07/10 9:00 am. ถิ่ น ข น ม ผิ ง
วันนี้เรามาชมวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ อ.กงไกรลาศเป็นที่แรก ที่นี่เป็นชุมชนชาวจีนเล็กที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย บรรยากาศโดยรวมจึงเป็นห้องแถวไม้แบบโบราณขนาบสองข้างฝั่งถนน เดินลึกเข้าไปเป็นห้องแถวโบราณริมน้ำ ขนมขึ้นชื่อของที่นี่ แน่นอน ขนมผิง หอม หวาน รับประทานเป็นของขบเคี้ยวเพลินๆดีค่ะ
สนามบินสุโขทัย สวยที่สุดในประเทศไทย (เค้าว่ากัน)
ออกแบบโดยบริษัท habita ตัวอาคารผู้โดยสารเป็นการประยุกต์เอารูปแบบดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมสุโขทัย ทั้งสัดส่วน และวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบัน เป็นกลุ่มอาคารชั้นเดียว ผังบริเวณโดยรวมประกอบด้วยสนามบิน ส่วนเกษตรกรรม ส่วนปศุสัตว์ และส่วนโรงแรม ตั้งอยู่บนพื้นที่อันเวิ้งว้างกว้างใหญ่
|
โรงแรม |
|
บรรยากาศภายในโรงแรม |
หมู่บ้านและเตาทุเรียง
ที่นี่ เรามาชมพิพิธภัณฑ์เตาทุเรียงและเครื่องสังคโลก เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กที่ใช้การระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ มีรูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการถาวรที่น่าสนใจ คือมีการสร้างห้องนิทรรศการคลุมบริเวณที่มีการขุดเตาทุเรียงพบ และเปิดช่องแสงจากด้านบน นำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในห้องนิทรรศการ
วิถีชีวิตและชุมชนในละแวกนั้น
0 1 / 0 8 / 1 0 “ F I N A L L Y ”
สุ โ ข ทั ย – พิ ษ ณุ โ ล ก – ก รุ ง เ ท พ
วัดราชบูรณะ
สันนิษฐาน ว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ประกอบด้วย พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีทางขึ้นลงทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้านละ 2 ประตู พื้นภายในยกระดับ บานประตูหน้าต่างแกะสลัก ผนังเขียนภาพจิตรกรรมรามเกียรติ์ รอบๆอาคารติดตั้งใบเสมาบนฐานก่ออิฐถือปูนรูปดอกบัวบาน รอบนอกทำเป็นกำแพงแก้วล้อมรอบอีกชั้น พระวิหาร อยู่หลังพระอุโบสถ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก อาคารก่ออิฐถือปูน มีทางขึ้นลงทั้งด้านหน้าและหลังด้านละ 2 ประตู บานประตูแกะสลักไม้สัก ผนังภายในมีภาพจิตรกรรมพุทธประวัติ พระเจดีย์ ตั้งถัดลงมาด้านหลังพระวิหาร สันนิษฐานว่าประดิษฐานพระอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยมีความงดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลกไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย และเป็นอารามหลวงมาแต่เดิม ต่อมาเมื่อ ปีรัชกาลที่ 3ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธชินราช มีความเชื่อว่ามีอิทธิอภินิหาร พุทธศาสนิกชนจึงนิยมมาสักการะ เพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นที่พึ่งทางใจ ปัจจุบันภูมิทัศน์ของวัดเปลี่ยนแปลงไปมาก พื้นที่กว่าครึ่งของวัด โดยรอบวิหารหลวง ถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นเต้นประชาสัมพันธ์ เช่าบูชาวัตถุมงคลต่างๆ ร้านขายของฝากที่อยู่รอบนอก บรรยากาศความเงียบสงบที่อารามควรมีเพื่อเป็นที่ก่อให้เกิดสมาธิและสติแก่พุทธศาสนิกชน ถูกทำลายโดยเสียงประชาสัมพันธ์ผู้หวังดีประสงค์ร้ายแก่วัด การทำบุญที่มีการโฆษณา และมีข้อเสนอเชิญชวนให้มีการบริจาคพร้อมแถมของสมนาคุณ เป็นที่สร้างความรำคาญให้กับหลายคนรวมทั้งคณะของเราอย่างมาก สถาปัตยกรรมที่งดงามที่บรรพบุรุษสรรสร้าง ปกป้องและหวงแหนได้ถูกทำลายจนไม่เหลือแม้กระทั่งซากปรักหักพัง
วัดนี้เป็นสถานที่สุดท้ายของการมา field trip ครั้งนี้ค่ะ เหมือนจะเป็นตัวจบงานที่กระตุ้นให้นักศึกษาอย่างฉันรู้ว่า
" อ ะ ไ ร ที่ ใ ห ม่ ก ว่ า ไ ม่ ส า ม า ร ถ ม า แ ท น ที่ ห รื อ จ ะ ต้ อ ง ดี ก ว่ า สิ่ ง ที่ มี อ ยู่ เ ดิ ม เ ส ม อ ไ ป "
ขอบคุณ
รศ.วิวัฒน์ เตมียภัณฑ์
และบรรดาอาจารย์ที่ร่วมมาทริปครั้งนี้
เพื่อนๆ สถ.5
พี่ปริญญาโท