วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ชีวประวัติ
นายองอาจ สาตรพันธุ์ ปัจจุบันอายุ 66 ปี เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้อง 4 คน บิดาชื่อนายอัญ สาตรพันธุ์ มารดาชื่อนางลำเจียก สาตรพันธุ์ สมรสกับนางรุจิรัตน์ วิจิตรานนท์
ด้านการศึกษา
พ.ศ. 2499-2503   มัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2503-2508   Cornell University , Ithaca, N.Y., สหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2509 -2510  Yale University , New Haven, CT., สหรัฐอเมริกา

การทำงาน
บริษัท Glen Paulsen & Associates Architects, Bloomfield Hills, Michigan, สหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2512 ก่อตั้งสำนักงาน องอาจสถาปนิกถ.ศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร
ผลงาน
อาคารโรงเรียนปานะพันธ์วิทยา
คอร์บูเซียนริมถนนลาดพร้าว
ตึก 9 โรงเรียนปานะพันธืวิทยา (2513)
จะเป็นอย่างไร หากอาคารคอนกรีตเปลีอยอิงหลักห้าประการ และสามข้อพึงคิดสำหรับสถาปนิกของกูรูแห่งสถาปัตยกรรมโมเดิร์น เลอ คาร์บูชิเอร์ ปรากฏขึ้นในบริเวณโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งละแวกลาดพร้าว ซึ่งเดิมเป็นทุ่งนา
เพือตอบโจทย์ความสัมพันระหว่างรูปทรงอาคารกับสภาพที่ตั้ง บนพื้นที่สามเหลื่ยมค่อนไปทางแคบ
 ริมถนนลาดพร้าว องอาจ สาดรพันธุ์ ออกแบบอาคารกลม ไม่มีด้านหน้าหลังที่ชัดเจน ภายในจัดสรรเนื้อที่ใช้สอยเป็นสี่เหลี่ยม ภายในถูกออกแบบเป็นครีบ ยื่นลอยจากเสาเพื่อทำหน้าที่เป็นแผงกันแดดและฝน สร้างแสงเงาที่ต่างในแต่ละช่วงเวลา ส่วนพื้นผิวของตัวอาคารนั้นแสดงความงามตามเนื้อแท้ของผิววัสดุคอนกรีตเปลือยและอิฐ
ความแปลกของรูปลักษณ์อาคารที่ได้ศึกษาหลักการอย่างจริงจังตามปรมาจารย์ชาวตะวันตก ตึก 9 โรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา จึงเป็นที่ดึงดูดสายตาของผู้ที่ผ่านไปมา และสร้างภาพใหม่ของโรงเรียนไทยที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

อาคารตึกช้าง



 อาคารนี้เป็นอาคารประเภทอาคารสำนักงานและพักอาศัยรวม เป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ รูปลักษณ์ของอารถูกบังคับตามพื้นที่ดินที่มีลักษณะยาวเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว กฎหมายและความต้องการของเจ้าของโครงการ เริ่มแรกคูณองอาจบอกว่า อาคารถูกแบ่งออกเป็นสามทาวเวอร์ แต่เนื่องจากต้องการพื้นที่ขายที่มากจึงจำเป็นต้องเชื่อมสามทาวเวอร์เวอร์เข้าด้วยกัน แต่ด้วยข้อกำหนดเรื่องพื้นที่เปิดโล่ง จึงทำให้เชื่อมอาคารได้เพียงส่วนบนและเกิดช่องว่าขนาดใหญ่สองช่อง  ต่อมาเจ้าของโครงการเห็นว่าอาคารมีลักษณะคล้ายช้างและส่วนตัวเป็นคนที่ชื่นชอบช้างอยู่แล้วจึงมีการออกแบบตกแต่งส่วนของอาคารเพิ่มเพื่อให้เหมือนช้างจริงๆ

แทมมาริน วิลเลจ (เฮือนแทมมารีน)



เฮือนแทมมารีน ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงใหม่ ในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ โดยตั้งอยุ่ข้างๆวัดอุโมงค์ เมื่อมองจากcourtภายในโรงแรม ก็จะพบยอดเจดีย์ของวัดราวกับอยู่ในรั้วเดียวกัน โรงแรมนี้ตั้งอยู่บนเนื้อที่2ไร่ครึ่ง เป็นกลุ่มเรือนต่างๆ เมื่อแรกเข้ามาที่โรงแรมจะต้องเดินผ่านทางเข้าโค้งแคบ ยาว มืด ที่ยาวเพียง 23 เมตร ที่หยิบยืมลักษณะscaleของวัดไหล่หินมาใช้ และหยิบยืมplane ตามระดับต่างๆของวัดต้นเกว๋น มารับใช้ในการสร้างสายตาให้เกิดภาวะส่วนตัวกับแขกผู้มารับใช้โรงแรม
ที่แม้ว่าจะมีสระว่ายน้ำอยู่ด้านหน้าโรงแรมก็ตาม ก็ใช้เรื่องของplaneต่างๆของทั้งสองวัดนี้มาสร้างprivacyได้อย่างแยบยล ชายคากดเตี้ยให้ตัดสายตาสู่พื้นเบื้องล่าง และลดทอนแสงที่จะเข้ามาสู่ที่ว่าง  หัวใจของโรงแรมมะขามนี้อยู่ที่courtที่ล้อมต้นมะขามอายุกว่า100ปี ที่ปล่อยใบของมัน ร่วงหล่น เงามืดใต้ชายคา ทางเดิน ความเงียบสงบแบบเย็นๆ และเสียงเพลงทำนองล้านนา ที่แว่วมาจากที่ใดไม่ทราบได้ หรือมันเปล่งออกมาจากบรรยากาศแบบล้านนาที่ห้อมล้อมเฮือนแทมมารีนนี้ไว้ก็เป็นได้
อาคารเรียนฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์









sketch เป็นที่ระทึก
ที่นี่เป็นสถานที่หนึ่งที่ตัวดิฉันได้ไปสัมผัสมาด้วยตนเองค่ะ เมื่อเข้าสู่เขตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฉันมองหาตึกฟิสิกส์ จุดสังเกตุหนึ่งที่ช่วยย่นระยะเวลาในการเดินหาในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ คงหนีไม่พ้นรูปลักษณ์ภายนอกของอาคารที่เป็นคอนกรีตเปลือย แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดสัจะวัสดุ
 สัจจะวัสดุที่เป็นข้อบ่งบอกถึงความสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น ทางลาดโค้งทอดยาวด้านหน้าอาคารทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อพื้นที่ภายนอกและภายในอาคารตามแบบฉบับเดียวกับตึก 9โรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา สภาพของอาคารส่วนมากยังคงเดิมตามแบบฉบับ มีเพียงการปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่บางส่วนให้เหมาะสมกันละษณะการใช้งานและจำนวนผู้ใช้ที่เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย ถือว่าอาคารเป็นอาคารที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัยจริงๆค่ะ


 
โรงแรมราชมรรคา

โรงแรม ราชมรรคา ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงใหม่ หลังวัดพระสิงห์ ท่ามกลางบรรยากาศส่วนตัว ร่มรื่นด้วยหมู่ไม้ โดดเด่นด้วยแรงบันดาลใจ ชะลอรูปแบบจากวิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง   ผสมผสานด้วยศิลปะแห่งล้านนา รวมกลิ่นอายวัฒนธรรม 3 ชาติ คือ จีน ลาว พม่า ได้อย่างลงตัวไม่ไกล ยังมีแหล่งท่องเที่ยว ทั้งอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ วัดเจดีย์หลวง และ กาดหลวงไนซ์บาซาร์ ใครจะมาเมืองเชียงใหม่ หากได้สัมผัส โรงแรม ราชมรรคา ก็คือ จินตนาการอันเป็นจริงของความตระการตาแห่งบรรยากาศล้านนาโดยแท้






รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ
รางวัล The Baird Prize       จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล
รางวัลสถาปนิกดีเด่น          จากสมาคมสถาปนิสยาม และรางวัลส่งเสริมเชียงใหม่งามจากสถาปนิกล้านนา 52
พ.ศ. 2503              ได้รับรางวัล “The York Price” จาก Cornell University
พ.ศ. 2505              ได้รับรางวัล “The Baird Prize” จาก Cornell University
พ.ศ. 2525
ได้รับรางวัลผลงาน สถาปัตยกรรมดีเด่นจาก Henkel Thai Factory
ได้รับรางวัลผลงาน สถาปัตยกรรมดีเด่นโดยการออกแบบบ้าน ดร.กร - ท่านผู้หญิงนิรมล สุริยสัตย์ จากสมาคมสถาปนิกสยาม
พ.ศ. 2537              ได้รับรางวัล สถาปนิกดีเด่นในวาระครบรอบ 60 ปี จากสมาคมสถาปนิกสยาม
พ.ศ. 2545              ได้รับรางวัล ส่งเสริมเชียงใหม่งามโดยการออกแบบโรงแรมแทมมารินวิลเลจ จากสถาปนิกล้านนา 45
พ.ศ. 2552              ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

หลังปี พ.ศ.2510 ขณะที่ประเทศยังเพิ่งเรียนรู้คำว่า อุตสาหกรรม สถาปนิกผู้จบการศึกษาจากต่างประเทศ รับรูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์น ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการปฏิวัติรูปแบบสังคม และเศรษฐกิจ ด้วยระบบอุตสาหรรมในโลกตะวันตก เข้ามาพยายามประยุกต์ใช้กับเทคนิคการก่อสร้างและวัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่อย่างจำกัด
อาคารรูปทรงเลขาคณิตและเทคนิคการหล่อคอนกรีต ที่กลายเป็นแฟชั่นใหม่แทนการก่ออิฐถือปูนแบบเดิม ๆ มาพร้อมกับการจัดวางผังอาคาร โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเพื่อประหยัดการใช้พลังงาน และการออกแบบแผงกันแดดให้ตอบรับทิศทางแสงเพื่อนำเสนอทางอกใหม่แทนการใช้ชายคา พื้นผิวเปลีอยแสดงเนื้อแท้ของวัสดุเปลี่ยนภาพลักษณ์อาคารให้ดูทันสมัย และเทคโนโลยีคอนกรีตเสริมเหล็กอำนวยความสะดวกในการออกแบบพื้นที่ใช้สอย
สถาปัตยกรรมไทยในยุคสมัยนี้สะท้อนความพยายามในการทดลองหาความเป็นไปได้ระหว่างความซาบซึ้งในสถาปัตยกรรมโมเดิร์น ตลอดจนรสนิยมและมุมมองความงาทที่เปลี่ยนไปของเหล่าสถาปนิกกับสภาพพื้นที่เขตร้อนของไทย
นายองอาจ สาตรพันธุ์ เป็นสถาปนิกที่ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย ที่มีความสามารถในการสืบทอดและประยุกต์ใช้ศิลปะแบบดั้งเดิมผสมผสานกับศิลปะสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน และแสดงให้เห็นถึงรากเหง้าของวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ได้รับรางวัลมากมายจากหลายๆสถาบันทางด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เช่นอาคารตึกช้าง อาคารโรงเรียนปานะพันธ์วิทยา อาคารเรียนฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นกรรมการตัดสินผลงานดีเด่นทางสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม เป็นผู้ทำประโยชน์ให้กับสังคมอย่างมากมาย จึงได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี 2552 สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย